เทพแห่งความตายฮาเดส (Hades)

เทพฮาเดส 


เทพฮาเดส (Hades) หรือเทพเจ้าพลูโต เทพแห่งความตาย เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย

ผู้สนับสนุน

ฮาเดส ได้ชื่อว่าเป็นเทพที่มีความเที่ยงธรรมอย่างมาก ตัดสินความดีชอบของคนตายโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น  พระองค์เป็นเทพพลูโต ทำหน้าที่ดูแลเมืองบาดาล หรือยมโลก และคนตายทั้งหมด โดยคำว่า”พลูโต” มีความหมายถึง เทพแห่งทรัพย์ เพราะนอกจากจะดูแลยมโลกแลัว ท้าวฮาเดสยังทำหน้าที่ครองมวลธาตุล้ำค่าที่อยู่ภายใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชื่อว่า ดีส (Dis) ที่หมายความว่า ทรัพย์ นั่นเอง (แม้ว่าบางตำนานอาจกล่าวว่า ฮาเดสทำหน้าที่ครองเมืองยมโลกและคนตายเท่านั้น)

ในขณะที่ เทพที่ทำหน้าที่ครองความตายอีกองค์หนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษากรีกว่า ธานาทอส (Thanatos) หรือ ชื่อในภาษาลาตินว่า ออร์คัส (Orcus) เทพองค์นี้เป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hipnos) เทพประจำความหลับ

แม้ว่าเทพฮาเดสจะเป็นหนึ่งในเทพแห่งโอลิมปัส แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลกเพื่อเสด็จขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสมากเท่าไรนัก และก็ไม่ค่อยอยากมีใครยินดีต้อนรับเทพองค์นี้เสียเท่าไร  เพราะส่วนใหญ่ล้วนแต่เกรงกลัวในอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น เนื่องด้วยพระองค์เป็นเทพที่ปราศจากความปรานี  และทรงก็มีหมวกวิเศษอยู่ใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมผู้นั้นหายตัวไปได้เลยทันที ซึ่งในครั้งที่ทำสงครามกับเหล่าไททันส์นั้น ฮาเดสใช้หมวกนี้ลอบเข้าไปทำลายอาวุธของไททันส์ก่อนการต่อสู้

ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า ภายในยมโลกจะเป็นที่อยู่ของดวงวิญญาณทุกดวงที่สิ้นชีวิตไปแล้ว วิญญาณเหล่านี้จะถูกนำไปรับฟังคำพิพากษาจากคณะเทพสภาในยมโลกซึ่งอยู่ใต้พื้นพิภพ และเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้การปกครองของเทพฮาเดสผู้นี้

โดยเฮอร์เมสจะมีหน้าที่นำพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังเมืองบาดาล ซึ่งถูกกล่าวถึงกันว่าอยู่ใต้สถานที่อันแสนเร้นลับของโลก ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบถึงสถานที่ที่แน่นอน บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยต้องข้ามมหาสมุทรไป บ้างก็ว่าทางลงนั้นอยู่แถวแม่น้ำแห่งความวิปโยค ที่มีนามว่า แอกเครอน (Acheron) ซึ่งแม่น้ำสายนี้จะไหลไปสู่แม่น้ำโคไซทัส (Cocytus) ซึ่งเป็นแม่น้ำอีกสายหนึ่งที่เรียกกันว่าแม่น้ำแห่งความกำสรวล ตรงส่วนที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกัน จะมีเครอน (Charon) ซึ่งเป็นคนพายเรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยรับวิญญาณทุกดวงข้ามฟากไปสู่ยังสถานที่ที่หนึ่ง ที่นี่จะประตูแข็งแกร่งราวเหล็กเพชรเป็นปากทางเข้า ที่เรียกว่า ทาร์ทารัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกจะเรียกกันว่า เอรีบัส (Erebus) เครอนจะทำหน้าที่รับดวงวิญญาณลงเรือแต่ดวงวิญญาณนั้นจะต้องมีเงินติดปากไปด้วยเป็นค่าผ่านทาง ทำให้พิธีกรรมของชาวกรีกจะต้องมีการนำเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนการฝังไปด้วยทุกครั้ง ซึ่งทุกวันนี้นี้ประเพณีดังกล่าวก็ถูกทำตามๆกันในหลายเชื้อชาติ

ที่หน้าประตูทางเข้า ทาร์ทะรัส จะมีสุนัขตัวหนึ่งที่เรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) ทำหน้าที่เฝ้าประตูไว้อยู่เสมอ สุนัขตัวนี้จะมีหัวสามหัว และมีหางคล้ายมังกร มันจะยินยอมให้วิญญาณของทุกคนผ่านเข้าประตูไปได้ แต่จะไม่ยอมให้วิญญาณเหล่านี้รอดกลับออกมาอีกเป็นอันขาด

หลังจากนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูกพาไปเจอกับสามเทพสุภาเพื่อรับคำพิพากษา โดยสามเทพ ได้แก่ แรดาแมนธัส ,ไมนอส และ ออร์คัส หากเป็นดวงวิญญาณที่ชั่วร้ายหรือก่อกรรมทำผิดก็จะถูกพิพากษาให้ต้องชดใช้กรรม และทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปตลอดกาล แต่สำหรับดวงวิญญาณที่ทำดี ก็จะได้รับคำพิพากษาให้นำตัวไปยังทุ่งอีลิเซียน ซึ่งเป็นดินแดนสุขาวดีของกรีกที่ได้เคยกล่าวถึงมาก่อนหน้านี้แล้ว
นอกจานี้ ยังมีแม่น้ำอีกสามสายที่ทำหน้าที่คั่นแดนบาดาลไว้ให้ห่างหากจากพิภพเบื้องบน                  สายที่หนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน (Phlegethon) แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำแห่งไฟ มีเปลวไฟลุกไหม้โชติช่วง อยู่บนผิวน้ำตลอดเวลา ทอดตัวล้อมรอบขุมนรกขุมลึกที่สุดที่มีชื่อว่า ทาร์ทารัส
สายที่สองมีชื่อว่า สติกส์ ( Styx) เป็นแม่น้ำแห่งความเกลียดชัง และเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เทพทั้งปวงล้วนมาสาบาน และไม่กล้าผิดคำสาบาน เพราะถ้าหากผิดคำสาบานที่อ้างว่าแม่น้ำสติกซ์เป็นพยานแล้วจะมีผลร้ายแรงอย่างยิ่งตามมา
และสายที่สามมีชื่อว่า ลีธี หรือ เลเธ (Lethe) แม่น้ำแห่งการหลงลืม หรือแม่น้ำที่ใช้สำหรับล้างความทรงจำ ดวงวิญญาณในตรุทาร์ทะรัสจะต้องดื่มน้ำจากแม่น้ำสายนี้ เพื่อละทิ้งความทรงจำที่เคยมีในชาติก่อนให้หมดสิ้นไป
นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลกแล้ว ยังมีคณะเทวีทัณฑกรซึ่งเป็นคณะที่สำคัญคณะหนึ่งที่ประจำอยู่ในดินแดนยมโลกเช่นกัน คณะที่ว่านี้มีชื่อว่า อิรินนีอิส (Erinyes) พวกเขาจะมีหน้าที่ทำโทษดวงวิญญาณที่กระทำตัวผิดทำนองคลองธรรมในมนุษย์โลก เดิมที เทวีทัณฑกมีเทพดูแลอยู่หลายองค์ แต่ในที่สุดก็ถูกลดเหลือเพียงแค่สามองค์ ได้แก่ ไทสิโฟนี (Tisiphone)  มีกีรา (Megaera)และ อเล็กโต (Alecto) ซึ่งแต่ละองค์มีรูปร่างลักษณะที่น่ากลัว ดุร้าย และที่เศียรก็มีงูพันไว้ยั้วเยี้ย ใครก็ตามที่ทำบาปกรรมไว้ในครั้งที่เป็นมนุษย์ ก็จะมาใช้กรรมด้วยฝีมือของเทวีทั้งสาม ซึ่งมีชื่อเรียกนี้รวมๆกันอีกชื่อหนึ่งว่า The Furies

เทพฮาเดสจ้าวแห่งแดนบาดาล มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างจะเย็นชา และแข็งกร้าว ไร้ซึ่งความเวทนาปรานีแก่ผู้ใด แต่พระองค์ก็ทรงตัดสินความถูกผิดไปด้วยความมียุติธรรมตลอดเวลา จึงเป็นเหตุให้ท้าวเธอไม่สามารถหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ในปรโลกร่วมกันได้เสียที แต่วันหนึ่งอสูรเอนซาลาดัสที่ถูกซูสล่ามโซ่ไว้ใต้ภูเขาเอตนาเกิดดิ้นรนจะให้หลุดจากพันธนาการ ด้วยความแรงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนลงไปถึงยมโลก เทพฮาเดสเกรงว่ายมโลกจะแตกร้าวจึงขับราชรถเทียมม้าดำไปขึ้นมาตรวจดูพอดีเทพีอะโฟรไดต์เห็นเทพฮาเดสเข้าก็บัญชาให้กามเทพอีรอสยิงศรรักไปปักอกเทพฮาเดส ซึ่งจะทำให้เทพฮาเดสหลงรักหญิงคนแรกที่พบเห็นทันที
หญิงที่เทพฮาเดสเห็นเป็นคนแรกเป็นเทพธิดานามว่า เพอร์ซิโฟนี (Persephone) เทพีฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นธิดาองค์เดียวของเทพีแห่งพืชพันธุ์ดีมีเตอร์ และเป็นหลานของเทพฮาเดสเอง เนื่องจากดีมิเตอร์เทวีถือเป็นน้องนางของพระองค์ จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงได้ไปฉุดเอาตัวของเพอร์เซโฟนีลงไปเป็นคู่ครองในดินแดนใต้พิภพ แม้ตัวนางเองจะไม่ได้เต็ม ใจเลยสักนิด
เทพซูสได้ทรงเข้ามาตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งตัวเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา แต่เทพฮาเดสก็ใช้กลเล่ห์เพทุบายเพื่อล่อลวงให้นางต้องเดินทางมาหาท้าวเธอปึละ 3 เดือนทุกๆปีไป ทำให้ในปึหนึ่ง ๆ ฮาเดสจะเป็นเทพพ่อม่ายนาน 8 เดือน และมีเวลาได้ร่วมรักกับมเหสีอีกเพียงปีละ 4 เดือน เท่านั้น ซึ่งช่วงเวลา 8 เดือน ที่เดียวดายไร้มเหสีเคียงคู่นี้ เทพฮาเดสก็พิสูจน์พระองค์ว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร เพราะตลอดเรื่องราวที่กล่าวในประวัติของท้าวเธอ ปรากฏเรื่องราวที่เทพฮาเดสนอกใจชายาของตนเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้น
ครั้งที่หนึ่งที่นอกใจเป็นเพราะเทพฮาเดสทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรที่มีชื่อว่า มินธี (Minthe) แต่ความรักครั้งนี้ก็ไม่ได้ยาวนาน ด้วยเหตุผลเพราะพระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีไม่พอใจที่ฮาเดสกำลังนอกใจบุตรสาวของตน แม้จะไม่ชอบเทพฮาเดส พระเทพีดีมิเตอร์ก็ไล่ฆ่านางมินธีจนสิ้นใจตาย ฮาเดสด้วยความเวทนาสงสารนางจึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายมาเป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีกลิ่นหอม และถือเป็นพืชประจำพระองค์ด้วยตลอดมา
ในขณะที่การนอกใจครั้งที่สอง เกิดขึ้นเพราะ เทพฮาเดสทรงไปรักชอบพอกับนางเลอซี (Leuce) ผู้เป็นธิดาของอุทกเทพโอซียานุส แต่นางเลอซีก็มีบุญน้อย เพราะสุดท้ายนางก็ป่วยตายเสียก่อนที่จะโดนเทพีดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี ซึ่งภายหลังจากการตายของนาง นางก็ได้กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกใช้ในพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส ในขณที่ต้นไม้ใหญ่ ที่เป็นต้นไม้ประจำองค์ของเทพฮาเดสกลับเป็นเพียงแต่ต้นสนเศร้า (Cypress)

Comments

Popular posts from this blog

แบนชี (BANSHEE)

GOBLIN

เทพแห่งมหาสมุทร โพไซดอน (Poseidon)